พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม, เรียนรู้ประวัติศาสตร์, ผ่านการบรรยายพิเศษ, เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย, ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านการบรรยายพิเศษ!

'เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย ที่ส่งอิทธิพลต่อศิลปะในพื้นที่เอเชียอาคเนย์'

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม เรียนรู้ประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกาย ผ่านการบรรยายพิเศษในหัวข้อ เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย ที่ส่งอิทธิพลต่อศิลปะในพื้นที่เอเชียอาคเนย์โดยศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี เพื่อบ่งบอกถึงความเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ ผ่านหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี อีกทั้งเนื้อหาที่นำมาบรรยายยังเกี่ยวข้องกับเครื่องแต่งกาย ที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ผ้าได้

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม, เรียนรู้ประวัติศาสตร์, ผ่านการบรรยายพิเศษ, เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย, ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

การบรรยายพิเศษในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.. ๒๕๖๖ ท่ามกลางความสนใจจากผู้เข้าร่วมรับฟังมากมายภายในห้องประชุมของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ พร้อมเปิดโอกาสให้ร่วมพูดคุยซักถามในบรรยากาศเป็นกันเอง โดยศาสตราจารย์ ดร. เขษฐ์ ได้สรุปเนื้อหาจากงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีพ..๒๕๕๙ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปะอินเดียในสมัยคุปตะ ปัลลวะ และปาละ ที่ส่งต่อแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของเทวรูปต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ อาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรศรีวิชัย เช่น

ทรงผมและศิราภรณ์ อาทิ ชฎามกุฎ ชฎาภาร กิรีฎมกุฎ (หมวกทรงกระบอก) ตาบประเภทต่างๆ สร้อยพระศอและยัชโญปวีต อาทิ อชินยันชโญปวีต มุกตยัญโชปวีต กฏิสูตร เข็มขัด และผ้านุ่ง อาทิ เข็มขัดในศิลปะคุปตะสกุลช่างสารนาถ ศิลปะปาละ โจฬะ เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม, เรียนรู้ประวัติศาสตร์, ผ่านการบรรยายพิเศษ, เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย, ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี

ศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ยังได้นำภาพถ่ายประติมากรรมเก่าแก่ทั้งของอินเดียและเอเชียอาคเนย์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ มาใช้ประกอบการบรรยายได้อย่างน่าสนใจ ก่อนจะสิ้นสุดการบรรยายท่ามกลางเสียงชื่นชมจากผู้เข้าร่วมงาน ที่ได้รับความรู้และความประทับใจจากกิจกรรมพิเศษในครั้งนี้

ผมศึกษาเกี่ยวกับศิลปะและประวัติศาสตร์อินเดียมานานกว่า ๑๕ ปีแล้วครับ เพราะศิลปะอินเดียมีเสน่ห์บนความซับซ้อน น่าหลงใหล และน่าตื่นเต้น จะเห็นได้จากการแต่งกายและเครื่องประดับของประติมากรรมต่าง ๆ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวอินเดียในสมัยโบราณ ทั้งยังส่งอิทธิพลมาถึงประติมากรรมของเทวรูปและรูปเคารพต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้อย่างน่าทึ่ง ซึ่งผมต้องขอบคุณทางพิพิธภัณฑ์ผ้าเป็นอย่างมากที่เปิดโอกาสให้ผมได้จัดการบรรยายพิเศษในครั้งนี้” ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ กล่าวทิ้งทาย

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม, เรียนรู้ประวัติศาสตร์, ผ่านการบรรยายพิเศษ, เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย, ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม แสดงนิทรรศการ สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถพร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมสนุกกับการเรียนรู้เรื่องผ้าในห้องกิจกรรม ปัก : ถัก : ทอ‘ (Woven Dialects) เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เผยแพร่องค์ความรู้ ตลอดจนพระราชกรณียกิจด้านศิลปาชีพกว่า ๔๖ ปี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ ๑๖.๓๐ น. ปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมเวลา ๑๕.๓๐ น. บัตรเข้าชมผู้ใหญ่ ราคา ๑๕๐ บาท ผู้สูงอายุ (๖๕ ปีขึ้นไป) ราคา ๘๐ บาท นักเรียนหรือนักศึกษา (โปรดแสดงบัตรประจำตัว) และเด็กอายุ ๑๒ ๑๘ ปี ราคา ๕๐ บาท เด็กอายุต่ำว่า ๑๒ ปี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จัดกิจกรรม, เรียนรู้ประวัติศาสตร์, ผ่านการบรรยายพิเศษ, เครื่องแต่งกายประติมากรรมอินเดีย, ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี, พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

  • หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง
  • ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง
  • เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
  • โทรศัพท์ (+๖๖) () ๒๒๕ ๙๔๒๐
  • เว็บไซต์ http://www.qsmtthailand.org/

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn